แนะนำระบบ

สำหรับระบบเตือนภัยที่ปรับปรุงและพัฒนาในปี 2561 นี้ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจแรงงาน 3 ส่วน ได้แก่ (1) การเตือนภัยวิกฤตด้านแรงงาน เป็นการวิเคราะห์การแจ้งเตือนและโอกาสเกิดวิกฤตด้านแรงงานภายใน 12 เดือนข้างหน้า สำหรับการจ้างงาน การว่างงาน และการเลิกจ้าง (2) การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต เป็นการคาดการณ์ภาวะตลาดแรงงานด้านการจ้างงาน การว่างงาน การเลิกจ้าง และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ และ (3) ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันทางด้านเศรษฐกิจแรงงาน เป็นการรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดด้านแรงงานจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้

  • สัญญาณเตือนภัย (Signal Analysis) แสดงการแจ้งเตือนวิกฤตตลาดแรงงานภายในระยะเวลา 12 เดือนล่วงหน้า จากตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจทั้งหมด 26 ตัวชี้วัด หากตัวชี้วัดใดมีการแจ้งเตือนจะมีค่าเท่ากับ 1 ถ้าไม่มีการแจ้งเตือนมีค่าเท่ากับ 0 ซึ่งสามารถนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นดัชนีผสมสัญญาณเตือนภัยตลาดแรงงานได้โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0 ถึง 1 สำหรับน้ำหนักของตัวชี้วัดแต่ละตัวขึ้นอยู่กับความสามารถในการแจ้งเตือนวิกฤตล่วงหน้าที่แตกต่างกัน เมื่อตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจมีการแจ้งเตือนพร้อมกันหลายตัวจะทำให้ค่าดัชนียิ่งมาก จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตสามารถแบ่งระดับการแจ้งเตือนออกเป็น 3 สถานะ (Status) ตามสีของมิเตอร์ (Meter) ได้แก่
    • สีเขียว - สถานะปกติ (Normal) : ไม่มีหรือมีการแจ้งเตือนน้อยมาก น้ำหนักรวมของตัวชี้วัดที่แจ้งเตือนวิกฤตในระยะ 12 เดือนข้างหน้า ไม่เกินร้อยละ 14 ของตัวชี้วัดทั้งหมด : มีการแจ้งเตือนอยู่ในระดับเฝ้าระวัง น้ำหนักรวมของตัวชี้วัดที่แจ้งเตือนวิกฤตมากกว่าร้อยละ 14 แต่ไม่เกินร้อยละ 19
    • สีเหลือง - สถานะเฝ้าระวัง (Warning) : มีการแจ้งเตือนอยู่ในระดับเฝ้าระวัง น้ำหนักรวมของตัวชี้วัดที่แจ้งเตือนวิกฤตมากกว่าร้อยละ 14 แต่ไม่เกินร้อยละ 19
    • สีแดง - สถานะวิกฤต (Crisis) : จะเกิดวิกฤตตลาดแรงงา


กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400 โทรศัพท์ 02-2321377 , โทรศัพท์ 02-2321430


System Login